วันอังคารที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

อนาคตโรงเรียนขนาดเล็กของเมืองไทย การแก้ปัญหาจะต้องไม่มีรูปแบบเดียว


ดร.พิษณุ ตุลสุข
หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ

          ...ไม่มีผู้ปกครองคนใดที่ไม่ต้องการให้ลูกได้เรียนในโรงเรียนที่มีคุณภาพ!          หากท่านได้เดินทางไปในชนบทหรือต่างจังหวัดมักจะพบเห็นรถรับส่งนักเรียนวิ่งขนเด็กจากตำบลหมู่บ้านเข้ามาเรียนในเมืองเป็นจำนวนมาก บางรายอาจจะต้องเดินทางถึง 30-40 กม. เพื่อมาเรียนโรงเรียนอนุบาลประจำจังหวัด หรือโรงเรียนเอกชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โรงเรียนเอกชนหลายแห่งจะมีรถไปรับนักเรียนถึงหน้าบ้าน มีครูพี่เลี้ยงนั่งรถดูแลมาด้วย ภาพเช่นนี้เป็นปกติในทุกจังหวัดทุกเช้า เด็กก็จะนั่งหลับอ่อนเพลีย เพราะการตื่นแต่เช้าและต้องเดินทางไกล แต่พ่อแม่หรือผู้ปกครองยินดีเพราะลดภาระการรับส่งลูกไปโรงเรียนและเชื่อมั่นว่าลูกได้ไปเรียนในโรงเรียนที่มีคุณภาพ
          ดังนั้นหากผู้ปกครองมีกำลังทางเศรษฐกิจพอที่จะส่งลูกไปเรียนในโรงเรียนที่มีคุณภาพได้ก็จะส่งไปแน่นอน รถขนนักเรียนก็จะวิ่งผ่านหน้าโรงเรียนในหมู่บ้านในชนบทสู่เมืองใหญ่ ลูกของคนมีฐานะดีในเมืองใหญ่ก็จะถูกส่งไปเช่าหอพัก บ้านเช่า ในจังหวัดที่มีโรงเรียนดัง ๆ คุณภาพดี ลูกของคนร่ำรวยในจังหวัดก็จะถูกส่งไปเรียนยังเมืองหลวงหรือโรงเรียนนานาชาติ หรือคนในเมืองหลวงก็ส่งลูกไปเรียนต่างประเทศเพราะข้อสรุปก็คือ ทุกคนรักลูกอยากให้ลูกเรียนในโรงเรียนดีมีคุณภาพ มีสังคมที่ดี มีอนาคตดี มีใครไม่รักลูกบ้าง
          แต่ก็ยังมีอีกหลายครอบครัวที่พ่อแม่ติดขัดปัญหาด้านการเงิน หรือฐานะยากจนจึงไม่มีปัญญาส่งลูกไปเรียนที่ไหน จำใจให้ลูกเรียนอยู่ในโรงเรียนใกล้บ้านในหมู่บ้าน ดังที่เห็นเป็น "โรงเรียนขนาดเล็ก" ที่มีอยู่ถึง 14,816 โรงเรียนของ สพฐ. ในปัจจุบัน
          จากสาเหตุดังกล่าวจึงเกิดโรงเรียนขนาดเล็กเพิ่มขึ้นทุกปี โดยที่หากจะจำกัดคำว่า "โรงเรียนขนาดเล็ก" หมายถึง โรงเรียนที่มีนักเรียนจำนวนต่ำกว่า 120 คนลงมาเป็นโรงเรียนขนาดเล็กจะพบข้อมูลดังนี้ ปีการศึกษา 2546 มีจำนวนโรงเรียนขนาดเล็ก 10,877 โรง, ปีการศึกษา 2550 เพิ่มเป็น 13,518 โรง, ปีการศึกษา 2554 เพิ่มเป็น 14,669 โรง ปีการศึกษา 2555 เพิ่มเป็น 14,816 โรง และในปีการศึกษา 2556 ยังไม่มีการสำรวจแต่คาดว่าจำนวนจะต้องเพิ่มขึ้นแน่นอน และในจำนวนนี้ย่อมมีโรงเรียนที่มีนักเรียนต่ำกว่า 60 คนลงมาอยู่ไม่น้อยกว่า 5,962 โรงเรียน เช่นเดียวกัน
          ปัญหาของโรงเรียนขนาดเล็กคืออะไร ? ปัญหาสำคัญอันดับแรกคือ คุณภาพของนักเรียน จากการวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหรือรางวัลจากการแข่งขันทักษะทางวิชาการต่าง ๆ จะพบว่า โรงเรียนขนาดเล็ก คุณภาพต่ำกว่าโรงเรียนขนาดกลาง โรงเรียนขนาดกลาง คุณภาพต่ำกว่า โรงเรียนขนาดใหญ่ และหากนำผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของโรงเรียนขนาดเล็กตัดออกจากค่าเฉลี่ยรวมของ สพฐ.ในระดับประเทศ คิดเทียบค่าเฉลี่ยรวมจากโรงเรียนขนาดกลางและขนาดใหญ่จะทำให้ค่าเฉลี่ยรวมของ สพฐ. สูงขึ้นอย่างก้าวกระโดด จึงเป็นข้อสรุปว่า คุณภาพนักเรียนในโรงเรียนขนาดเล็กโดยภาพรวมต่ำจริง แล้วทำไมต้องให้เด็กไทยเรียนในโรงเรียนที่ไม่มีคุณภาพ
          ปัญหาลำดับที่สองโรงเรียนขนาดเล็กขาดแคลนทรัพยากร เพราะการจัดสรรงบประมาณของ สพฐ. ยืนอยู่บนบรรทัดฐานของค่าใช้จ่ายรายหัว แม้จะบวกเพิ่มพิเศษอย่างไรก็ได้ไม่เท่าโรงเรียนที่มีจำนวนนักเรียนมากอยู่ดี การลงทุนด้านค่าก่อสร้างอาคาร ค่าครุภัณฑ์ วัสดุสื่อต่าง ๆ ก็มีข้อจำกัด เพราะ สพฐ.เป็นพ่อแม่ที่มีลูกมาก มีโรงเรียนในสังกัดถึง 31,116 โรง แม้จะมีงบประมาณรวมกันแล้วจะมากที่สุดนับเป็น 3 แสนล้านบาท ก็ตาม
          ทั้งนี้ต้องไม่ลืมข้อเท็จจริงบางประการว่าในประเทศนี้ โรงเรียนขนาดเล็กบางแห่งยังมีคุณภาพที่ดี ได้รับรางวัลโรงเรียนรางวัลพระราชทาน 2-3 ครั้ง เป็นเกียรติประวัติ เพราะผู้อำนวยการและครูเอาใจใส่จริงจังบวกกับผู้นำชุมชนและผู้ปกครองในท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาศักยภาพของโรงเรียน ทุกคน
          มีความสุขอยู่กับโรงเรียนที่เป็นศูนย์รวมในการพัฒนาของหมู่บ้านและชุมชน และในขณะเดียวกันยังมีโรงเรียนขนาดเล็กที่จำเป็นต้องคงอยู่ อาทิ โรงเรียนเกาะโหลน เกาะแก่งอีกหลายเกาะ โรงเรียนบนยอดดอยและป่าเขา โรงเรียนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ไม่สงบและปลอดภัย ที่ถึงอย่างไรโรงเรียนเหล่านี้จะต้องคงอยู่เพื่อให้เด็กไทยที่เกิดในถิ่นฐานเหล่านี้ได้สิทธิและโอกาสในการก้าวถึงการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างมีคุณภาพและทั่วถึงก็ต้องได้รับการแก้ปัญหาและดูแลอย่างมีคุณภาพด้วย แม้ว่าจะเป็นการลงทุนต่อหน่วย (จำนวนเด็กนักเรียน) สูงกว่าพื้นที่ปกติก็ตาม
          ทุกปัญหาต้องมีทางออก ปัญหาของโรงเรียนขนาดเล็ก จะต้องได้รับการแก้ไขแน่นอน ทั้งในเรื่องของคุณภาพและเชิงประสิทธิภาพของการบริหารจัดการ และความคุ้มค่าของการใช้ทรัพยากร ซึ่งที่ผ่านมาก็มีการดำเนินการอย่างไม่หยุดหย่อน จนโรงเรียน ของ สปช. (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติเดิม) ประมาณ 35,000 โรง จึงเหลือเพียงโรงเรียนซึ่งนับรวมโรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษาเดิมประมาณ 31,116 โรงแล้วก็ตาม แสดงให้เห็นถึงความคงอยู่และเลิกล้มไปตามสภาพของความจำเป็นและการจำยอม
          แต่การยุบเลิกย่อมไม่ใช่ทางออกทางเดียว! เมื่อครั้งผู้เขียนอยู่ในตำแหน่งรองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จึงผลักดันโครงการวิจัยเพื่อกำหนดอนาคตโรงเรียนขนาดเล็กของประเทศไทยไว้โดยมีหัวเรื่องวิจัย 16 เรื่อง (ตามข้อมูลล้อมกรอบ) ใช้นักวิจัย ที่ส่วนใหญ่เป็นข้าราชการสังกัด สพฐ. และผู้ทรงคุณวุฒิจากสถาบันอุดมศึกษาที่จบการศึกษาระดับปริญญาเอก จำนวน 100 กว่าคน มาร่วมเป็นทีมวิจัย 16 ทีม ซึ่งหัวเรื่องการวิจัยล้วนแล้วแต่จะสามารถตอบปัญหาเรื่องโรงเรียนขนาดเล็กที่ถกเถียงกันในเวทีสื่อสาธารณะในปัจจุบันได้อย่างครอบคลุมและครบถ้วน เป็นการแก้ปัญหาอย่างมีอนาคต มองอนาคตระยะยาวและรองรับด้วยระเบียบวิธีวิจัยที่เป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
          หลักการวิจัยทั้ง 16 เรื่อง จะอยู่ภายใต้หลักการสำคัญ 3 ประการคือ 1. คุณภาพของนักเรียนในโรงเรียนขนาดเล็ก 2. สิทธิและโอกาสในการได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานของประชาชนคนไทยทุกคนตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด และ 3. ประสิทธิภาพการบริหารจัดการของภาครัฐ
          ทั้งหมดนี้ขึ้นอยู่กับพลังและการขับเคลื่อนของนักวิจัยทั้ง 16 ทีม ซึ่งขณะนี้น่าจะดำเนินการไปได้ใกล้จะเสร็จแล้ว และจะเป็นคำตอบอันสำคัญต่อรัฐบาล และประชาชนของประเทศไทยทั้งผู้ยากไร้ขาดโอกาส และผู้ที่กำลังวุ่นอยู่กับปัญหาและแสวงหาคำตอบว่าอนาคตของโรงเรียนขนาดเล็กของประเทศไทยควรจะเป็นอย่างไร แต่คำตอบสุดท้ายจะต้องยืนอยู่บนหลักการว่า 'การแก้ปัญหาโรงเรียนขนาดเล็กของประเทศไทยจะต้องไม่มีรูปแบบเดียวที่ใช้แก้ปัญหาได้ ทุกโรงเรียนทั่วประเทศจะต้องขึ้นอยู่กับบริบท และสภาพการณ์ของแต่ละโรงเรียน แต่ละชุมชนเป็นสำคัญ".
          16 หัวข้อวิจัยฯ
          ขณะนี้น่าจะอยู่ในระหว่างการดำเนินการและบางเรื่องดำเนินการวิจัยเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงนำเสนอเพื่อให้เป็นแนวคิดและการมองปัญหาทั้งระบบ อาทิ 1. เรื่องผลคุณภาพนักเรียนใน รร.ขนาดเล็ก 2. เรื่องการศึกษาผลการประเมินคุณภาพภายนอก 3. เรื่องการบริหารจัดการ 4. เรื่องปัจจัยที่ทำให้ รร.ขนาดเล็กอยู่ได้อย่างมีคุณภาพ 5. เรื่องรูปแบบการบริหารจัดการศึกษา 6. เรื่องการศึกษาความคุ้มค่า เชิงการลงทุน 7. เรื่องการศึกษาผลกระทบด้านสิทธิและโอกาสทางการศึกษา จากการยุบรวม รร.ขนาดเล็ก 8. เรื่องความพึงพอใจต่อการบริหารจัดการควบรวม รร.ขนาดเล็ก 9. เรื่องปัจจัยสนับสนุนและปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการรวมหรือเลิกล้มรร.ขนาดเล็ก
          10. เรื่องการบริหารงานบุคคล เพื่อรองรับการบริหารจัดการ รร.ขนาดเล็กในอนาคต 11. เรื่องรูปแบบการบริหารจัดการและการมีส่วนร่วมของ รร.ขนาดเล็กที่มีประสิทธิภาพ 12. เรื่องการจัดการศึกษารร.ขนาดเล็ก โดยอาศัยองค์กรเอกชนเป็นแนวคิดใหม่ 13. เรื่องการบริหารทรัพย์สิน รร.ขนาดเล็ก กรณีที่ยุบรวม หรือเลิกล้มเป็นการเตรียมหาทางออกไว้ก่อน 14. เรื่องรูปแบบการใช้แท็บแล็ต เพื่อยกระดับคุณภาพนักเรียนใน รร.ขนาดเล็ก
          15. เรื่องการพัฒนาการจัดการศึกษาแบบคละชั้นใน รร.ขนาดเล็ก และ 16. เรื่องสามทศวรรษ รร.ขนาดเล็กของประเทศไทย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพที่บ่งบอกถึงความพยายามในการแก้ปัญหาที่ผ่านมากว่า 30 ปีเป็นการศึกษาประวัติศาสตร์เพื่อเป็นเอกสารหลักฐานและสามารถนำมาวิเคราะห์เพื่อพยากรณ์และกำหนดนโยบายอนาคตได้อย่างแม่นยำและมีประสิทธิภาพ.
เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 15 พ.ค. 2556

ครูเฮ! ก.ค.ศ.ปรับเงินเดือนปี'56 - 57 สูงสุดป.ตรี - โท 1.7 - 1.8 หมื่นบาท เร่งตั้งงบชง'ครม.'จ่ายย้อนหลัง

          เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม นางรัตนา ศรีเหรัญ เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการ ครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการ ก.ค.ศ. วันที่ 17 พฤษภาคมนี้ จะเสนอร่างบัญชีอัตรา เงินเดือนสำหรับคุณวุฒิที่ ก.ค.ศ.รับรองเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการครูและ บุคลากรทางการศึกษากับอัตราเงินเดือนสำหรับคุณวุฒิที่สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) รับรอง เพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ รวมทั้งบัญชีเปรียบเทียบอัตราเงินเดือนและจำนวนเงินที่ได้ปรับตามคุณวุฒิที่ ก.ค.ศ.รับรองกับอัตราเงินเดือน และจำนวนเงินที่ได้ปรับตามคุณวุฒิที่ ก.พ.รับรอง ใช้บังคับใน วันที่ 1 มกราคมที่ผ่านมา ซึ่งเรื่องนี้เป็นไปตามนโยบายการปรับเงินเดือน 15,000 บาทของรัฐบาล โดยในปี 2555 ได้มีการปรับเงินเดือนตามคุณวุฒิไปแล้วตามมติ คณะรัฐมนตรี (ครม.) แต่ยังไม่ถึง 15,000 บาท และได้กำหนดให้มีการปรับให้ครบในปี 2556 และปี 2557 โดยในร่างบัญชีอัตราเงินเดือนที่จะนำเสนอที่ประชุม ก.ค.ศ.เห็นชอบได้กำหนดอัตราเงินเดือนบรรจุใหม่ในอันดับครูผู้ช่วยที่จะใช้บังคับ ดังนี้ ปี 2556 ได้แก่ ปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี เงินเดือน 13,470 บาท ปริญญาตรี หลักสูตร 5 ปี 14,300 บาท ประกาศนียบัตรบัณฑิตที่มีหลักสูตรการศึกษาไม่น้อยกว่า 1 ปี ต่อจากวุฒิปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี 14,300 บาท ปริญญาตรี หลักสูตร 6 ปี 16,570 บาท ปริญญาโททั่วไป 16,570 บาท ปริญญาโทที่มีหลักสูตร กำหนดเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 2 ปี ต่อจากวุฒิปริญญาตรีที่มีหลักสูตรกำหนดเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 5 ปี 17,690 บาท และปริญญาเอก 20,320 บาท
          เลขาธิการ ก.ค.ศ.กล่าวต่อว่า สำหรับอัตราเงินเดือนที่จะบังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคม 2557 ได้แก่ ปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี 15,050 บาท ปริญญาตรี หลักสูตร 5 ปี 15,800 บาท ประกาศนียบัตรบัณฑิตที่มีหลักสูตรการศึกษาไม่น้อยกว่า 1 ปี ต่อจากวุฒิปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี 15,800 บาท ปริญญาตรี หลักสูตร 6 ปี 17,690 บาท ปริญญาโททั่วไป 17,690 บาท ปริญญาโทที่มีหลักสูตรกำหนดเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 2 ปี ต่อจากวุฒิปริญญาตรีที่มีหลักสูตรกำหนดเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 5 ปี 18,690 บาทและปริญญาเอก 21,150 บาท ทั้งนี้ในการปรับเงินเดือนดังกล่าวจะมีการปรับให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการปรับเงินเดือน 15,000 บาทด้วย โดยได้มีการจัดทำรายละเอียดไว้ในบัญชีเปรียบเทียบอัตราเงินเดือน ที่จะนำเสนอไปพร้อมกัน เช่น ผู้ที่มีคุณวุฒิปริญญาโทที่มีหลักสูตรกำหนดเวลาศึกษาไม่น้อยกวา 2 ปี ต่อจากวุฒิปริญญาตรีที่มีหลักสูตรกำหนดเวลาศึกษา ไม่น้อยกว่า 5 ปี และมีเงินเดือนอยู่ในอันดับ คศ.4 มีอัตราเงินเดือนก่อนปรับวันที่ 1 มกราคม 2556 จำนวน 24,400 บาท จะได้รับการปรับเงินเดือนในวันที่ 1 มกราคม 2556 เป็น 27,090 บาท เป็นต้น ทั้งนี้เมื่อที่ประชุม ก.ค.ศ.เห็นชอบในเรื่องนี้แล้ว จะต้องเสนอที่ประชุม ครม.อนุมัติและจะต้องตั้งงบประมาณที่จะนำมาปรับเงินเดือนให้กับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเหล่านี้
          "เรื่องนี้เป็นการดำเนินการเช่นเดียวกันการปรับเงินเดือน 15,000 บาท ในปี 2555 ซึ่งตอนนั้นมีการปรับเงินเดือนให้ไม่ถึง 15,000 บาท แต่จะมีเงินค่าครองชีพส่วนอื่นสมทบให้จนมีรายได้ครบ 15,000 บาท โดยในปี 2556 และปี 2557 ก็ต้องตั้งงบประมาณมารองรับเช่นเดียวกัน โดยขณะนี้ ก.ค.ศ.กำลังทำรายละเอียดจำนวนข้าราชการครูทั้งหมดที่จะได้รับการปรับและงบประมาณที่จะต้องใช้" นางรัตนากล่าว
ที่มา: หนังสือพิมพ์มติชน



หลักสูตรใหม่...เพื่อประเทศไทยที่ดีกว่า

          สมพงษ์ จิตระดับ สุอังคะวาทิน
            คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

          ประเทศไทยในสภาพปัจจุบันถูกรุมเร้าด้วยปัญหาวิกฤตนานัปการ คุณภาพการศึกษาตาเกือบทุกด้านในระดับโลก เด็กและเยาวชนเข้าสู่ปัญหาสังคมรุนแรงจนน่าวิตก ค่านิยมแข่งขันกันเอาเป็นเอาตาย เข้าสู่มหาวิทยาลัยมีชื่อเสียง โครงสร้างระบบหลักสูตรเรียนเพื่อจา ทดสอบจนความคิดติดกรอบกันทั้งประเทศ แนวคิดสาคัญการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรการศึกษาที่กาลังยกร่างอยู่นี้ มีปรัชญาและความเชื่อว่าหลักสูตรคือเครื่องมือสาคัญที่เปลี่ยนแปลง ยกระดับ สร้างสังคมไทยให้ดีขึ้น ด้วยการยกเลิกหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2544 ปรับปรุงอีกครั้ง 2551 ลงเสีย ในระยะแรกคณะกรรมการร่างหลักสูตรได้นาเสนอกลุ่มสาระการเรียนรู้ (Knowledge Cluster) ออกเป็น 6 กลุ่มความรู้ ทักษะสาคัญ (Generic Skills) 10 ด้าน ค่านิยมและเจตคติ (Values & Attitudes) 6 ประการ และประสบการณ์เรียนรู้ (Learning Experience) 6 เครื่องมือ ดังแผนภูมิที่นาเสนอ
          ในเรื่องของ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้อยู่ในระดับการจัดการทาเนื้อหาให้สอดคล้องกับวัยวุฒิภาวะ ระดับชั้นเรียน ความยากง่ายของเนื้อหาด้วยการกาหนดให้เนื้อหาสาระเป็นความรู้พื้นฐานที่จาเป็นเท่านั้นสาหรับผู้เรียนใช้ในการศึกษา ทดลองทา ค้นคว้าจากแหล่งความรู้ การลงมือปฏิบัติเป็นสาคัญ เพื่อต่อยอดและสรุปความรู้ทักษะ ประสบการณ์ด้วยตนเอง นักเรียนคือ ผู้วิจัยน้อย (Students as Researchers) นอกจากนั้นยังกาหนดกรอบเวลาแต่ละชั้นปีให้เรียนได้ไม่เกิน 1,000 ชั่วโมงต่อปี ดังเช่น ชั้นประถมศึกษาตอนต้น 856 ชั่วโมง ประถมศึกษาตอนปลาย 904 ชั่วโมง และชั้นมัธยมศึกษาประมาณ 1,000 ชั่วโมง เป็นต้น
          แนวคิดดังกล่าวเป็นข้อเตือนใจสำคัญให้นักการสอนวิชาต่างๆ เตือนใจตนเองว่า อย่ายัดเยียดเนื้อหา 100% ลงใน สมองเล็กๆ จนเด็กเกิดอาการเจ็บป่วย ไม่มีความสุข ดังหลักสูตรที่ผ่านมา การพาเด็กนักเรียนออกนอกห้องเรียนด้วยเครื่องมือ 6 ชนิด นับเป็นนวัตกรรมการศึกษาที่สำคัญยิ่ง เท่ากับ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้ทีเดียว
          สำหรับเครื่องมือ 6 ชนิด ที่ช่วยสร้างเสริมประสบการณ์การเรียนรู้ให้แก่นักเรียน ได้แก่1.การอ่านเพื่อการเรียนรู้ (Reading to Learn) เป็นทักษะสาคัญของการดาเนินชีวิตใช้การอ่านเพื่อนาไปสู่การอ่านหนังสือ การทบทวนความรู้ วิทยาการใหม่ๆ อ่านเพื่อใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ อ่านอย่างคล่องแคล่ว รักการอ่าน อ่านตลอดชีวิตเพื่อยกระดับทั้งความรู้ เจตคติ รสนิยมของนักเรียนแต่ละคน
          2.การเรียนรู้แบบโครงการ (Project Learning) ให้ครูและนักเรียนช่วยกันพัฒนาโจทย์ขึ้นด้วยกัน การเสาะแสวงหาข้อมูล การลงภาคสนาม การทดลองปฏิบัติ การจดบันทึกข้อมูล การสรุปบทเรียนด้วยตนเอง โดยมีครูเป็นวิทยากรกระบวนการ ผู้ให้คาแนะนาปรึกษาต่อนักเรียน
          3.เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) เป็นเครื่องมือเสาะแสวงหาความรู้เพิ่มเติมอย่างกว้างขวาง แท็บเล็ตที่แจกให้นักเรียนทุกคนสามารถเข้าสู่ห้องสมุดระบบข้อมูลที่ต้องการศึกษาค้นคว้าอย่างรวดเร็ว การต่อยอด สืบค้นเนื้อหาที่สัมพันธ์เพิ่มเติมได้อย่างไม่มีจากัด นักเรียนจะสามารถค้นคว้า มีทักษะเข้าสู่ระบบข้อมูลข่าวสาร องค์ความรู้ต่างๆ ที่มีอยู่มากมายได้ตลอดเวลา
          4.คุณธรรมและความเป็นพลเมือง (Moral and Civic Education) เป็นกระบวนการสร้างและหล่อหลอมวิถีประชาธิปไตย ผ่านขั้นตอนการระบุปัญหาในชุมชน การคัดเลือกปัญหาด้วยระบบเหตุผล การรวบรวมข้อมูลของปัญหา การจัดทาแฟ้มผลงาน การพิจารณาทางเลือก หาทางแก้ไข การรับฟังความคิดเห็น การนาเสนอผู้มีอานาจตัดสินใจและการทบทวนประสบการณ์ที่ได้รับการเรียนรู้
          5.การพัฒนาทางด้านร่างกายและจิตใจ (Physical and Mental Development) ให้มีกิจกรรมที่แสดงออกในรูปของกิจกรรมกีฬา สันทนาการ ชมรมต่างๆ ที่สนใจ สภานักเรียน ลูกเสือ เนตรนารี และอื่นๆ
          6.การเรียนรู้ผ่านการทำงานที่สนใจ (Career Related Learning) ให้การเรียนรู้ผ่านการฝึกฝน การทางานหารายได้ระหว่างเรียนรู้ การส่งเสริมสมรรถภาพที่ตนเองถนัด การสร้างค่านิยมสัมมาชีพผ่านสถานประกอบการ การทาโครงการผู้ประกอบการรายย่อยและอื่นๆ
          การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ 6 ชนิดนี้จะนาพาเด็กนักเรียนออกนอกห้องเรียนแคบๆ เรียนจากครูที่สอนหนังสือ บรรยากาศน่าเบื่อหน่าย (Passive) ไปสู่โลกของโครงการ กิจกรรม การพัฒนาโจทย์ การเข้าสู่ระบบข้อมูล การฝึกฝนกระบวนการประชาธิปไตย เรียนรู้จากการงาน ค้นคว้า บทบาทผู้สรุป การค้นพบศักยภาพของตนเองด้วยการนาความรู้พื้นฐานที่จาเป็นมาต่อยอด สร้างและสรุปองค์ความรู้ด้วยตนเองจากแหล่งความรู้ต่างๆ มากมายนอกห้องเรียน
          เป็นการเรียนรู้ที่สนุกสนาน ท้าทาย ตื่นเต้น (Active) และมีผลต่อร่างกายและจิตใจตลอดเวลา
          สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น ได้มีการเตรียมการโรงเรียนหลายแห่งที่สอดรับกับแนวคิดเครื่องมือ 6 ชนิด อย่างน่าสนใจ ดังตัวย่างของ นาย สมพงษ์ หลีเคราะห์ ผู้ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น จ.สตูล โรงเรียนตะโละใส ได้พัฒนาเครือข่าย 11 โรงเรียนขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 3 ปี และได้สรุปการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการวิจัย 10 ขั้นตอน คือ 1.เรียนรู้เรื่องใกล้ตัว 2.เลือกเรื่องปัญหาที่เกิดในชุมชน 3.ย้อนทวนกระบวนการ 4.พัฒนาโจทย์วิจัย 5.ตั้งคาถามย่อย 6.ศึกษาวิธีการเก็บข้อมูล 7.ศึกษาและเก็บข้อมูล 8.วิเคราะห์และประมวลผล 9. ทดลองทา 10. รายงานและนาเสนอ ภายใต้ฐานการคิดการเรียนรู้แบบชุมชนเป็นฐานและมีนิยามเรื่องใกล้ตัวที่ใช้เป็นเกณฑ์ คือ น่าสนใจ มีประโยชน์ต่อคนอื่น มีวิทยาการหรือแหล่งข้อมูลที่สามารถไปเรียนรู้ได้ มีความเป็นไปได้ มีเวลาเพียงพอ และเป็นเรื่องสอดคล้องวิถีชีวิตประชาธิปไตยและคุณธรรมจริยธรรม
          ผู้เขียนได้เข้าร่วมวงเสวนาถอดองค์ความรู้กับกลุ่มผู้บริหาร คณะครู ผู้ปกครองและนักเรียน พบว่าเป็นการยากมากกว่าจะมาถึงจุดนี้ต้องใช้เวลานาน 3 ปี เพราะครูส่วนใหญ่ไม่ค่อยอยากเปลี่ยนวิธีการสอน เป็นภาระสอนไม่ทัน ผู้บริหารต้องกล้าตัดสินใจดาเนินการจริงจัง มีผู้ให้คาแนะนาพี่เลี้ยง (Mentors) คอยช่วยเหลือแก้ไขปัญหา ผู้ปกครองระยะแรกไม่ใส่ใจ และมักถามว่าสอนอะไรกัน แต่สุดท้ายเห็นด้วย พูดเสียงสั่นเครือ เพราะลูกเปลี่ยนไปมาก กล้าพูด กล้าแสดง เรียนหนังสือดีขึ้น พูดคุยกับพ่อแม่ตลอดเวลาเรื่องโจทย์ที่นามาจากโรงเรียน ความสัมพันธ์ดีขึ้น ลูกไม่เกเร เด็กดี ตั้งใจเรียน นักเรียนชอบเรียนแบบนี้ ชอบวิชาวิจัย มีความสุขมากเพราะได้ไปเรียนนอกห้องเรียน และอื่นๆ
          รูปแบบของโรงเรียนตะโละใส จ.สตูล กับเครือข่าย 11 โรงเรียน เป็นตัวอย่างผลของความสาเร็จในการใช้เครื่องมือ 6 ชนิด ในการพาเด็กออกนอกห้องเรียนอันคับแคบและน่าเบื่อสู่โลกชุมชน ข้อมูลอันมากมาย ตอบโจทย์ที่ช่วยกันคิด จนบทสรุปเป็นข้อค้นพบของตัวเอง ในประเทศไทยยังมีตัวอย่างอีกมากมายที่ประผลสาเร็จ ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียนไทรงาม จ.ตรัง โรงเรียนบ้านเมืองกึ้ด อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ และอื่นๆ ถ้าถามว่าการปฏิรูประบบหลักสูตรการศึกษาครั้งนี้ เด็กจะได้อะไร คาตอบที่ตรงที่สุด "สนุกกับการเรียนรู้"
          และนี่คือก้าวแรกสำคัญของการเปลี่ยนแปลงทั้งระบบ อันจะนำไปสู่การปฏิรูประบบฝึกหัดครู โครงสร้างระบบ งบประมาณ บุคลากร กระบวนการเรียนรู้ ระบบ ICT จนสุดท้ายสร้างสังคมไทยใหม่ให้หายเจ็บป่วย โคม่าขั้นรุนแรงด้วยระบบการศึกษาไทยที่ดีกว่า

มติชน ฉบับวันที่ 15 พ.ค. 2556


ไม่มีความคิดเห็น: