วันอังคารที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2556

คำขวัญวันเด็กประจำปี 2557

นายกรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มอบคำขวัญวันเด็กประจำปี 2557

"กตัญญู รู้หน้าที่ เป็นเด็กดี มีวินัย สร้างไทย ให้มั่นคง"

สกศ.เร่งแผนพัฒนาคนตลอดชีพ เน้นเหมาะสม5ช่วงวัย-รองรับกลุ่มหลุดระบบ

          นายภาวิช ทองโรจน์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวภายหลังประชุมผู้บริหารองค์กรหลัก ศธ.ที่มีนายจาตุรนต์ ฉายแสง ปฏิบัติหน้าที่ รมว.ศธ. เป็นประธาน ว่า สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) รายงานการปรับมาตรฐานการศึกษาของชาติ ซึ่งเป็นเรื่องที่สืบเนื่องมาจากการประชุมร่วมกับนายกฯ ในแผนการศึกษาเพื่อพัฒนาคนตลอดช่วงชีวิต ที่สกศ.ไปดำเนินการ ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งในช่วงวัยต่างๆ จะมีพัฒนาการแตกต่างกัน ควรจะต้องมีมาตรฐานการศึกษาที่จะตอบสนองว่า ในคนแต่ละช่วงวัยตั้งแต่เกิดจนตาย ควรจะต้องมีมาตรฐานทักษะ ความรู้อย่างไรบ้าง
          นายภาวิชกล่าวต่อว่า ในการประชุม สกศ.ได้รายงานความก้าวหน้าว่า ได้แบ่งช่วงวัยในรูปแบบที่เหมาะสมเป็น 5 กลุ่ม คือ 1.ช่วงอายุ ตั้งแต่ 0-5 ขวบ จะเป็นก่อนวัยเรียน ซึ่งจะต้องมีมาตรฐานว่า เด็กจะมีพัฒนาการด้านร่างกายและสมองอย่างไรบ้าง จะชี้ต่อไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบเรื่องนี้ เช่น ศูนย์เด็กเล็ก ร.ร.อนุบาล 2.ช่วงอายุ 5-14 ปี จะเป็นกลุ่มที่อยู่ในร.ร.เป็นหลัก ก็จะมีมาตรฐานเรื่องหลักสูตร ร.ร. 3.ช่วงอายุ 15-21 ปี ช่วงเรียนมหาวิทยาลัย หรืออาชีวะ และจะมีกลุ่มที่หลุดจากระบบการศึกษา ไม่ได้เรียนหนังสือต่ออยู่ในกลุ่มนี้ด้วย ซึ่งจะมีระบบของสำนักงานกศน.มารองรับ
          "4.ช่วงอายุ 15-59 ปี กลุ่มนี้จะมีการเหลื่อมอายุกับกลุ่มที่ 3 เพราะเด็กที่อายุ 15 ปี บางคนจะหลุดจากระบบการศึกษา กลุ่มนี้จะเป็นมาตรฐานของกลุ่มวัยทำงาน ซึ่งจะต้องกำหนดมาตรฐานกลุ่มเหล่านี้ และ 5. กลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป ที่เป็นวัยเกษียณอายุ จะดูว่าจะใช้ทรัพยากรบุคคลที่อยู่ในช่วงวัยนี้ให้เป็นประโยชน์ต่อสังคมและตัวเองได้อย่างไร ซึ่งช่วงอายุระดับนี้บางคนก็ยังทำงานอยู่ แต่ที่สำคัญคือการถ่ายทอดความรู้ ภูมิปัญหาต่างๆ ซึ่งสกศ.จะมีการระดมความคิดเห็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป" นายภาวิชกล่าว

          --ข่าวสด ฉบับวันที่ 19 ธ.ค. 2556



ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 429/2556ประชุมผู้บริหารองค์กรหลัก
 ศึกษาธิการ - นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมผู้บริหารองค์กรหลักของกระทรวงศึกษาธิการ  เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2556 ณ ห้องประชุมจันทรเกษม โดยมีประเด็นสำคัญสรุปดังนี
รับทราบความก้าวหน้าการขับเคลื่อนการปฏิรูปการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้รายงานผลให้ที่ประชุมรับทราบถึงการจัดเสวนาเพื่อประกาศและขับเคลื่อนนโยบายปฏิรูปการเรียนการสอนภาษาอังกฤษสู่การปฏิบัติ เมื่อวันเสาร์ที่ ธันวาคม 2556 ซึ่งได้ประกาศยุทธศาสตร์การปฏิรูปการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ระยะ ปี (พ.ศ.2551-2556) รวม 7 ด้าน คือ 1ปรับวิธีเรียนเปลี่ยนวิธีสอน 2)พัฒนาครู 3) ส่งเสริมการใช้ ICT และพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอน 4) ขยายโครงการพิเศษ 5) สอบวัดระดับความรู้ความสามารถภาษาอังกฤษตามมาตรฐานสากล 6) เพิ่มเวลาเรียน 7) จัดกลไกขับเคลื่อนที่เข้มงวดและคอยช่วยเหลือสนับสนุน

โดยได้กำหนดให้ กรอบมาตรฐานความสามารถทางภาษาอังกฤษเพื่อวัดความรู้ความสามารถครูและนักเรียน (CEFR Common European Framework of Reference for Languages) ซึ่งเป็นกรอบมาตรฐานสากล นำมาใช้เป็นกรอบความคิดหลักในการออกแบบ การจัดการเรียนการสอน และการปฏิรูปการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยจะเสนอให้ รมว.ศธ.ลงนามในประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การขับเคลื่อนการปฏิรูปการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อดำเนินการต่อไป

รมว.ศธ.ได้ขอให้ สพฐ.รับความเห็นจากที่ประชุมไปปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมในรายละเอียดประกาศดังกล่าว อาทิ
  • CEFR จะส่งผลให้ระบบการทดสอบวัดผลภาษาอังกฤษต้องเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย แต่ในช่วงระยะแรกของการเปลี่ยนแปลง จะต้องให้ครูและนักเรียนได้ปรับตัวระยะหนึ่งก่อน โดยให้หารือถึงระบบการทดสอบร่วมกับสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติฯ (สทศ.) ด้วย
  •  CEFR ถือเป็นจุดเด่นที่มีความยืดหยุ่น ซึ่ง สพฐ.จะมีส่วนสำคัญต่อการสนับสนุนโดยตรงลงไปจนถึงระดับสถานศึกษา
  •  ในการขับเคลื่อนการปฏิรูปการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ อาจกำหนดเป้าหมายเชิงนโยบายไว้ด้วย
  • น้ำหนักสำคัญของการขับเคลื่อนการปฏิรูปการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ คือ การพัฒนาครูผู้สอน
  • เน้นให้จัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับสภาพผู้เรียน
  • การกำหนดรายละเอียดในประกาศดังกล่าว ต้องให้เข้าใจได้และดำเนินการได้จริง
  • ควรสนับสนุนให้มีการเข้าค่ายอบรมแบบเข้ม 2-4 สัปดาห์ ฯลฯ
  • รับทราบความก้าวหน้าในการจัดการเรียนการสอนภาษาจีน
สพฐ.ได้รายงานให้ที่ประชุมรับทราบความก้าวหน้าในการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งมีสถานศึกษาทุกสังกัดที่สอนภาษาจีนในประเทศจำนวนทั้งสิ้น 1,524 โรงเรียน แยกเป็น สพฐ. 769 โรง, สถานศึกษาเอกชน 500 โรง, สถานศึกษาอาชีวศึกษา 155 โรง และโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) 100 โรง มีจำนวนนักเรียนทั้งหมดที่เรียนภาษาจีน 863,056 คน และมีครูผู้สอนภาษาจีน สพฐ. 1,487คน แยกเป็นครูชาวไทย 600 คน (จบเอกภาษาจีน 500 คน) และครูชาวจีน 887 คน
ปัจจุบัน สพฐ.มีศูนย์เครือข่ายการเรียนการสอนภาษาจีน 42 ศูนย์ทั่วประเทศ และมีห้องเรียนขงจื่อในโรงเรียนศูนย์เครือข่าย โรง คือ รร.ไตรมิตรวิทยาลัย, สวนกุหลาบวิทยาลัย, นวมินทราชินูทิศ หอวัง นนทบุรี, ระยองวิทยาคม, ลำปางกัลยาณี และภูเก็ตวิทยาลัย
 สภาพจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้น เปิดสอนเป็นกลุ่มสาระเพิ่มเติม ประมาณ 1-2 คาบต่อสัปดาห์ ส่วนมัธยมศึกษาตอนปลาย เปิดสอนทั้งกลุ่มสาระเพิ่มเติม และแผนสายศิลป์-ภาษา ส่วนการวัดและประเมินผลการเรียนรู้นั้น แต่ละโรงเรียนเป็นผู้วัดและประเมินผลเอง แต่มีบางแห่งที่ใช้ข้อสอบมาตรฐานภาษาจีน HSK (Hanyu Shuiping Kaoshi) และ YCT (Youth Chinese Test) เป็นเกณฑ์ในการวัดความรู้นักเรียน
ทั้งนี้ สพฐ.ได้กำหนดแผนพัฒนาการเรียนการสอนภาษาจีนออกเป็น มาตรการสำคัญ คือ
  • มาตรการที่ การจัดการเรียนการสอน
  • มาตรการที่ 2 การพัฒนาหลักสูตร
  •  มาตรการที่ 3 การพัฒนาสื่อ
  •  มาตรการที่ 4 การวัดและประเมินผล
  •  มาตรการที่ 5 การพัฒนาครู
  •  มาตรการที่ 6 การเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน
  • รับทราบความก้าวหน้าในการขับเคลื่อนนโยบายการวัดและการประเมินผล
สทศ.ได้รายงานให้ที่ประชุมรับทราบการขับเคลื่อนนโยบายการวัดและการประเมินผล ที่ สทศ.ได้กำหนดให้มีการส่งเสริมให้เกิดการเชื่อมโยงทุกระดับการศึกษา มีการพัฒนาสมรรถนะครูในด้านการวัดและการประเมินผล มีการจัดทำคลังข้อสอบ (O-Net Item Bank) /พัฒนาระบบการทดสอบ e-Testing ที่สอดคล้องกับระบบการวัดและประเมินผลอื่นๆ เช่น PISA นอกจากนี้ สทศ.ได้ส่งเสริมให้มีการนำผลสอบ O-Net ไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและเป็นส่วนสำคัญของการสำเร็จการศึกษา (Exit Examination) รวมทั้งการตั้งศูนย์เครือข่าย สทศ. แห่ง กระจายตามภูมิภาคต่างๆ ของประเทศ

  • ความก้าวหน้าการปรับระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษา
สกอ.ได้รายงานให้ที่ประชุมรับทราบ แนวทางการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งในปีการศึกษา2557 ได้ขอความร่วมมือให้มหาวิทยาลัยที่เปิดรับตรง ให้จัดสอบภายหลังนักเรียนได้เรียนจบการศึกษาแล้ว แต่หากมหาวิทยาลัยใดดำเนินการรับนักศึกษาไปแล้วก็ให้ชี้แจงเหตุผล และความจำเป็นของการคัดเลือกที่ดำเนินการไปก่อนหน้านี้ ส่วนปีการศึกษา 2558 เป็นต้นไป ขอให้ทุกมหาวิทยาลัยเปิดสอบภายหลังจากนักเรียนเรียนจบการศึกษาแล้ว เพื่อเด็กจะได้ไม่ทิ้งห้องเรียน โดยใช้ระบบการทดสอบกลางผ่าน Clearing House ยกเว้นบางมหาวิทยาลัยที่ต้องการใช้ข้อสอบในสาขาวิชาเฉพาะ เช่น ศิลปะ ก็จะให้มีการจัดกลุ่มข้อสอบ เพื่อให้แต่ละมหาวิทยาลัยสามารถนำข้อสอบไปใช้ร่วมกันได้
  • การทบทวนมาตรฐานการศึกษาของชาติ
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) ได้รายงานให้ที่ประชุมรับทราบถึงการทบทวนมาตรฐานการศึกษาของชาติ ที่จะต้องปรับปรุงให้ทันสมัยเหมาะสมกับสภาพการณ์ปัจจุบัน รวมทั้งเพื่อให้การศึกษามุ่งเน้นโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ และสอดคล้องกับแผนการศึกษาเพื่อพัฒนาคนตลอดช่วงชีวิต ซึ่งเป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาลที่ได้แบ่งการพัฒนาคนเป็น ช่วง ตามช่วงวัยของชีวิต คือ เด็กปฐมวัย 0-5 ปี, เด็กในวัยเรียน 5-14 ปี, วัยรุ่น/นักศึกษา 15-21ปี, แรงงาน 25-59 ปี, ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป

  • หลักเกณฑ์การบริหารงานบุคคล
สำนักงาน ก.ค.ศ.ได้รายงานให้ที่ประชุมรับทราบว่า คณะกรรมการใน ก.ค.ศ.ที่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่ง รมว.ศธ.แต่งตั้งจำนวน 9 คน รวมทั้งผู้แทนครู 13 คน รวมทั้งสิ้น 22 คน จะหมดวาระลงในเดือนมกราคม 2557 ซึ่งสำนักงาน ก.ค.ศ.จะนำเสนอรายละเอียดในที่ประชุม ก.ค.ศ.วันที่ 20 ธันวาคม 2556 เกี่ยวกับหลักเกณฑ์การได้มาของคณะกรรมการ และปฏิทินการดำเนินงาน
นอกจากนี้ การกำหนดอัตราตำแหน่งให้สูงขึ้นของบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค.(2ในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา/มัธยมศึกษาทั่วประเทศ ที่จะปรับปรุงให้มีความก้าวหน้าจนถึงระดับชำนาญการพิเศษ จำนวน 1,163 คนนั้น ทางสำนักงาน ก.ค.ศ.กำลังจัดทำรายละเอียดหลักเกณฑ์เงื่อนไขในการประเมินค่างาน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ ก.ค.ศ.กำหนด โดยจะนำเสนอ อ.ก.ค.ศ.วิสามัญพิจารณา ก่อนที่จะประกาศใช้ต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น: