วันอังคารที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2557

ผลประชุมกระทรวงศึกษาธิการ ครั้งที่ 3/2557

ศึกษาธิการ นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วยนางฉวีวรรณ คลังแสง ดร.พวงเพ็ชร ชุนละเอียด ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการ  นายชาญยุทธ เฮงตระกูล เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และผู้บริหารระดับสูงของ ศธ. เข้าร่วมประชุมกระทรวงศึกษาธิการ ครั้งที่ 3/2557 เมื่อวันที่ มีนาคม 2557 ที่สำนักพัฒนาสมรรถนะครูและบุคลากรอาชีวศึกษา มีสาระสำคัญสรุป ดังนี้
  • กิจกรรม MOE Summer Camp 2014
ที่ประชุมรับทราบการเตรียมการจัดกิจกรรม “MOE Summer Camp 2014” ของ ศธ. ในช่วงปิดภาคเรียนฤดูร้อน ระหว่างวันที่ 15 มีนาคม-15 พฤษภาคม 2557 โดยกิจกรรมแบ่งออกเป็น ประเภท คือ แบบเปิดให้กลุ่มเป้าหมายสามารถเข้าร่วมกิจกรรม/โครงการ และแบบปิดที่เปิดให้เฉพาะกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมเป็นการภายในเฉพาะ โดยมีกิจกรรม ประเภท ได้แก่ ค่ายพักแรม อบรม สอนเสริม และการฝึกอาชีพ
ทั้งนี้ จะมีการแถลงข่าวต่อสาธารณชนในวันที่ 10 มีนาคม 2557 ที่สำนักพัฒนาสมรรถนะครูและบุคลากรอาชีวศึกษา ถนนรามอินทรา
  • รับทราบ (ร่าง) แผนการศึกษาแห่งชาติเพื่อพัฒนาคนตลอดช่วงชีวิต พ.ศ.2557-2561สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ได้รายงานให้ที่ประชุมรับทราบ (ร่าง) แผนการศึกษาแห่งชาติเพื่อพัฒนาคนตลอดช่วงชีวิต พ.ศ.2557-2561 เพื่อเป็นกรอบและแนวทางในการพัฒนาการศึกษาของหน่วยงานต่างๆ ของประเทศ และเชื่อมโยงกับแผนพัฒนาคนตลอดช่วงชีวิต ของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่จะใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาการศึกษาของคนในทุกช่วงอายุ มีเป้าหมายเพื่อให้คนไทยทุกคนทุกช่วงอายุ ครอบคลุม ช่วงอายุ ได้แก่ 1) ช่วงแรกเกิด-ปฐมวัย 0-5 ปี  2) ช่วงวัยนักเรียน 5-15 ปี  3) ช่วงวัยรุ่น/นักศึกษา 15-21 ปี  4) ช่วงวัยแรงงาน 25-59 ปี  และ5) ช่วงผู้สูงวัย 60 ปีขึ้นไป ได้รับการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้คุณลักษณะและทักษะที่จำเป็นอย่างรอบด้านให้ทันโลกในศตวรรษที่ 21
    หลังจากนี้จะได้นำร่างดังกล่าว ไปเผยแพร่สร้างความรู้ความเข้าใจ และนำไปสู่กระบวนการนำเสนอเพื่อบังคับใช้ต่อไป
  • รับทราบมาตรฐานวิชาชีพและการรับรองปริญญา/ประกาศนียบัตรทางการศึกษา เพื่อการประกอบวิชาชีพทางการศึกษา
  • สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา ได้รายงานที่ประชุมเกี่ยวกับการดำเนินงานเรื่องมาตรฐานวิชาชีพและการรับรองปริญญา/ประกาศนียบัตรทางการศึกษา เพื่อการประกอบวิชาชีพทางการศึกษา  ดังนี้
    1) มาตรฐานวิชาชีพ ซึ่งได้ประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ ตุลาคม 2556 มีสาระสำคัญดังนี้
    มาตรฐานวิชาชีพในส่วนคุณวุฒิและประสบการณ์วิชาชีพของครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และศึกษานิเทศก์ ไม่มีการเปลี่ยนแปลง
    ผู้ประกอบวิชาชีพครูที่สามารถขอรับใบอนุญาตได้ จะต้องมีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการศึกษา หรือเทียบเท่า หรือคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภาให้การรับรอง- ผู้บริหารสถานศึกษาและผู้บริหารการศึกษา ที่สามารถขอรับใบอนุญาตได้ จะต้องมีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีบริหารการศึกษา หรือเทียบเท่า หรือคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภาให้การรับรอง

    - ศึกษานิเทศก์ที่สามารถขอรับใบอนุญาตได้ กำหนดคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาโททางการศึกษา หรือเทียบเท่า หรือคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภาให้การรับรอง

    ปรับมาตรฐานของครู จาก 9 มาตรฐาน เป็น 11 มาตรฐาน

    - ปรับมาตรฐานความรู้ผู้บริหารสถานศึกษา จาก 
    11 มาตรฐาน เป็น 7 มาตรฐาน
    - ปรับมาตรฐานความรู้ผู้บริหารการศึกษา จาก 
    11 มาตรฐาน เป็น 6 มาตรฐาน
    - ปรับมาตรฐานความรู้ศึกษานิเทศก์ จาก 
    11 มาตรฐาน เป็น 8 มาตรฐาน
  • 2) การรับรองปริญญา/ประกาศนียบัตรทางการศึกษา มีสาระสำคัญดังนี้
    เกณฑ์การรับรองปริญญาฯ ทุกระดับ ทั้งวิชาชีพครูและวิชาชีพบริหารการศึกษา ได้แก่ วิชาชีพครู :หลักสูตร ปี หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต หลักสูตรปริญญาโท และหลักสูตรปริญญาเอก และวิชาชีพบริหารการศึกษา หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต หลักสูตรปริญญาโท และหลักสูตรปริญญาเอก
    ผู้สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรที่คุรุสภาให้การรับรองปริญญา/ประกาศนียบัตรทุกหลักสูตร จะต้องสอบรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ

    - การฝึกปฏิบัติวิชาชีพสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาและผู้บริหารการศึกษาในหลักสูตรที่คุรุสภาให้การรับรองปริญญา/ประกาศนียบัตร
    - สถาบันต้องรับนิสิต/นักศึกษาตามแผนที่กำหนดในหลักสูตร โดยมีสัดส่วนอาจารย์ต่อนักศึกษา 
    1:30อาจารย์นิเทศต่อนักศึกษา 1:10
    สถาบันต้องเสนอหลักสูตรที่ผ่านการอนุมัติจากสภาสถาบันให้คุรุสภารับรองก่อนเปิดการเรียนการสอน ไม่น้อยกว่า 60 วัน และมีการติดตามผลเชิงประจักษ์หลักสูตรไม่น้อยกว่า ครั้ง
    ที่ประชุมมอบให้สำนักงานเลขาธิการคุรุสภารับฟังความเห็นจากองค์กร บุคคลที่เกี่ยวข้องอย่างกว้างขวางอีกครั้ง เพราะขณะนี้ ศธ.กำลังขาดแคลนครูอย่างมากในทุกประเภทและระดับการศึกษา โดยเฉพาะคนที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญวิชาการด้านต่างๆ ไม่สามารถมาเป็นครูได้ คนที่เก่งแคลคูลัสแต่ไม่ได้เรียนครู อาจจะสอนหรือสามารถอธิบายให้เด็กเข้าใจได้ง่ายกว่าคนเป็นครูก็ได้
  • รับทราบความก้าวหน้าการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของ กศน.ที่ประชุมรับทราบรายงานความก้าวหน้า การขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างสำรวจการรู้หนังสือ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของประชากรไทย ยกระดับคุณภาพงานการศึกษาและศูนย์ฝีกอาชีพชุมชน เพื่อผลิตกำลังคนที่มีศักยภาพในการแข่งขัน ซึ่งจากการสำรวจการรู้หนังสือและการประเมินระดับการรู้หนังสือของประชากรไทยวัยแรงงาน ข้อมูล ณ วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2557 พบว่ากลุ่มอายุ 15-59 ปี จำนวน 5,668,223 คน มีผู้ไม่รู้หนังสือจำนวน 2,508,534 คน และกลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 1,232,380 คน มีผู้ไม่รู้หนังสือจำนวน 263,257 คน
    ที่ประชุมมีข้อคิดเห็นว่า การที่จะทำให้คนรู้หนังสือต้องเริ่มจากการอ่านเข้าใจ มีระบบProficiency Test คือการวัดผลทางด้านภาษา รวมทั้งมาตรฐานการเรียนรู้ภาษาแม่ของประเทศอย่างมีระบบและขั้นตอน จึงขอฝากให้ สพฐ.พิจารณาหารือในเรื่องนี้ร่วมกับ สทศ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งหลักสูตรเพื่อส่งเสริมให้มีรู้หนังสือจะต้องออกแบบหลักสูตรที่มีเนื้อหาและวิธีเรียนที่แตกต่างจากหลักสูตรปกติ ที่จะสามารถแก้ไขปัญหาได้ถูกจุด ดึงดูดความสนใจ และไม่ควรยากจนเกินไป แต่จะต้องเป็นหนังสือที่ช่วยให้อ่านได้ ในส่วนของจำนวนผู้อ่านหนังสือไม่ออกที่พบจากการสำรวจ เป็นปัญหาใหญ่ที่จะต้องจัดกระบวนการประเมินผลและประเมินหลักสูตรโดยนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนภาษา หรือนักสอนภาษาซึ่งขาดแคลนมากในประเทศไทย รวมทั้งเชิญผู้เชี่ยวชาญด้านผลสำรวจเพื่อช่วยอธิบายผลสำรวจ นำผลสำรวจนี้ไปใช้และแก้ไขปัญหาต่อไป เพราะหากไม่สามารถอธิบายผลได้อย่างถูกต้อง อาจจะมีการนำผลนี้ไปขยายความใน Social Media ซึ่งอาจจะเกิดความสับสนขึ้นได้
  • รับทราบความก้าวหน้าตามนโยบายข้อ การผลิตและพัฒนาครูที่ประชุมรับทราบการรายงานความก้าวหน้าตามนโยบาย ศธ.ข้อ การผลิตและพัฒนาครู ของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (สำนักงาน ก.ค.ศ.) ซึ่งได้ดำเนินการปรับปรุงและพัฒนาหลักเกณฑ์และวิธีการในการบริหารงานบุคคลสำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ให้มุ่งเน้นและเชื่อมโยงกับผู้สัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยได้มีการปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินวิทยฐานะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ว 17/2552)  และการพัฒนาหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินวิทยฐานะ ตามกรอบแนวคิด TPK และ PA  ตลอดจนการปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
  • รับทราบหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารงานบุคคลของสำนักงาน ก.ค.ศ
  • ที่ประชุมรับทราบหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารงานบุคคลของสำนักงาน ก.ค.ศ. มีสาระสำคัญ ได้แก่
    - ให้ดำเนินการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเข้ารับข้าราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย ครั้งที่ ปี พ.ศ.2557 ตามกำหนดการฯ ที่สำนักงาน ก.ค.ศ.กำหนด
    - เห็นชอบหลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาบุคคล รวม 
    หลักเกณฑ์ ได้แก่ 1) หลักเกณฑ์และวิธีการสอบแข่งขันฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย 2) หลักเกณฑ์และวิธีการสอบแข่งขันฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีที่มีความจำเป็นหรือมีเหตุพิเศษ 3) หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกพนักงานราชการ ลูกจ้างประจำ พนักงานจ้างเหมาบริการ ครูอัตราจ้าง หรือลูกจ้างชั่วคราวฯ ครูสอนศาสนาอิสลาม หรือวิทยากรอิสลามศึกษา เพื่อบรรจุและแต่งตั้งฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้  4) หลักเกณฑ์และวิธีการสอบแข่งขันฯ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และ 5) หลักเกณฑ์และวิธีการสอบแข่งขันฯ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้
  • เห็นชอบแนวทางการพัฒนาการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2558การศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ปัจจุบัน พบว่าประชากรมีการศึกษาเฉลี่ย 7.5 ปี มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำกว่า 50% ทุกรายวิชา มีอัตราการขาดเรียน ร้อยละ 10-15 และอัตราการอ่านไม่ออก ร้อยละ 26.23 ปัญหาที่สำคัญคือ ขาดแคลนครู ครูสอนไม่ตรงวุฒิ และไม่มีประสบการณ์วิชาใหม่ๆ ตลอดจนหลักสูตรท้องถิ่นเพื่อการเข้าใจในประวัติศาสตร์ และยังผู้เรียนยังขาดโอกาสและความทั่วถึงในกิจกรรมการพัฒนา
    ดังนั้น ศธ.จึงได้จัดทำแผนการพัฒนาการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ.2557-2558ตามนโยบายด้านการศึกษาข้อที่ พัฒนาการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อแก้ไขปัญหาด้านคุณภาพการศึกษา ลดอัตราการอ่านไม่ออกของนักเรียนระดับประถม พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาด้านวิทยาการสมัยใหม่ และเพิ่มโอกาสในการเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาแก่ผู้เรียน
    โดยมีแผนการดำเนินงาน 7 แผนงานหลัก ได้แก่ 1) การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน  2) การส่งเสริมและพัฒนาสื่อการเรียนการสอนเทคโนโลยี  3) การพัฒนาหลักสูตร  4) การพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา  5) การจัดสรรทุนสนับสนุนการศึกษา  6) การเรียนรู้ด้านอาชีพและการมีงานทำ และ 7) การสร้างเครือข่ายความร่วมมือ
    ที่ประชุมมีมติ ให้รวบรวมความเห็นจากฝ่ายปฏิบัติในพื้นที่และฝ่ายความมั่นคงเกี่ยวกับการจัดการศึกษา เพื่อนำความเห็นและข้อแนะนำต่างๆมาปรับปรุงการศึกษา เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง รวมทั้งตอบโจทย์การจัดการศึกษาในพื้นที่ตามความต้องการของประชาชนในพื้นที่ชานแดนภาคใต้ด้วย
  • การเร่งรัดใช้จ่ายงบประมาณตามโครงการที่มีความสำคัญจำเป็นรมว.ศธ.ได้ย้ำให้ที่ประชุมรับทราบด้วยว่า การดำเนินการโครงการต่างๆ ตามรายละเอียดที่ได้รับอนุมัติงบประมาณไว้แล้วนั้น คณะรัฐมนตรีได้ขอให้เร่งดำเนินการ เพราะบางกระทรวงคิดว่าเมื่อเกิดเหตุการณ์ต่างๆ ทางการเมือง ก็ให้ชะลอการดำเนินการตามโครงการต่างๆ ออกไปก่อน ทั้งที่ความจริงโครงการใด หากเป็นเรื่องเร่งด่วนและมีความสำคัญจำเป็นที่จะต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ก็ขอให้เร่งดำเนินการต่อไป เช่น การปฏิรูปการศึกษา  ส่วนนโยบายหรือข้อสรุปใหม่ที่เกิดขึ้น ก็ขอให้พิจารณาวางแผนเตรียมดำเนินการตามโครงการต่างๆ  แต่จะใช้งบอย่างไรหรือเท่าใดนั้น อาจจะต้องมีการปรับแก้เป็นระยะตามสถานการณ์ แต่อย่างน้อยก็ขอให้มีความพร้อมที่จะใช้
  • ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี

ไม่มีความคิดเห็น: