ระบบรับและนำส่งเงิน
ประเภทของเงินที่ส่วนราชการต้องบันทึกในระบบรับและนำส่งเงิน ได้แก่เงินนอกงบประมาณที่รับจากหน่วยงานอื่น เงินรายได้แผ่นดิน เงินเบิกเกินส่งคืนคลังและเงินรับฝาก ซึ่งมีประเด็นการตรวจสอบ ดังนี้
1. การควบคุมการเข้าปฏิบัติงานในระบบ GFMIS ในส่วนของระบบรับและ่นำส่งเงินเพื่อสอบทานว่าหน่วยรับตรวจมีการควบคุมการเข้าปฏิบัติงานในระบบ GFMISอย่างเพียงพอ เหมาะสมและรัดกุม
แนวการตรวจสอบ
สอบทานการปฏิบัติงานของหน่วยรับตรวจ ว่ามีการปฏิบัติดังนี้
1. มีคำสัง่แต่งตั้งผู้ปฏิบัติงานในระบบ GFMIS เป็นลายลักษณ์อักษร โดยแบ่งแยกหน้าที่อย่างชัดเจน และเหมาะสม ดังนี้
ผู้ทำหน้าที่รับและนำส่งเงิน
ผู้ทำหน้าที่บันทึกข้อมูลการรับและนำส่งเงินในระบบ GFMIS
ผู้อนุมัติการนำส่งเงินในระบบ GFMIS (ปลดบล็อกP3)
2. สังเกตการเข้าปฏิบัติงานในระบบ GFMIS ว่า ผู้ที่ปฏิบัติงานเป็นบุคคลเดียวกับ ผู้ที่ได้รับแต่งตัง้ตามคำสัง่
2. การควบคุมการรับเงิน - นำส่งเงิน
เพื่อสอบทานว่า การรับและนำส่งเงิน มีระบบการควบคุมที่เพียงพอเหมาะสมสามารถควบคุมเงินแต่ละประเภทที่ได้รับ ให้มีการนำส่ง ครบถ้วน ถูกต้อง ภายในระยะเวลาที่ระเบียบกำหนด
แนวการตรวจสอบ
ตรวจสอบว่า หน่วยรับตรวจมีการปฏิบัติ ดังนี้
1. การควบคุมการรับเงิน
1.1 การรับเงินแต่ละประเภทมีหลักฐานการรับครบถ้วน ถูกต้องตามที่ระเบียบกำหนด เช่น ใบเสร็จรับเงิน เป็นต้น
1.2 การบันทึกรายการรับเงินในระบบ GFMIS มีการพิมพ์รายงานการรับรายได้และนำส่งเงินคงคลัง (ZINF_R09 ประเภทเอกสาร RA, RB…) และสอบทานรายละเอียดในรายงานฯ เปรียบเทียบกับหลักฐานการรับเงิน ว่าถูกต้อง ตรงกัน
1.3 สอบทานว่า มีการจัดทำทะเบียนคุมการรับและนำส่งเงินแต่ละประเภทและมีการบันทึกรายการรับเงินในทะเบียนดังกล่าว ครบถ้วน ถูกต้อง ตรงตามหลักฐานและเป็นปจัจุบัน
2. การควบคุมการนำส่งเงิน
2.1 การนำส่งเงินแต่ละประเภทได้รับการอนุมัติจากผู้มีอำนาจก่อนนำเงินฝากเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของกรมบัญชีกลาง/สำนักงานคลังจังหวัด ที่ธนาคารกรุงไทยและต้องมีหลักฐานการนำส่งครบถ้วน ถูกต้องตามที่ระเบียบกำหนด ได้แก่ สำเนาใบนำฝากเงิน (Pay in slip) ที่มีเลข Bar code และใบรับเงินของธนาคาร (Deposit receipt)
2.2 การบันทึกรายการนำส่งเงินในระบบ GFMIS มีการพิมพ์รายงานการรับรายได้และนำส่งเงินคงคลัง (ZINF_R09 ประเภทเอกสาร R1, R2…) และสอบทานรายละเอียดในรายงาน ฯ เปรียบเทียบกับหลักฐานการนำส่งว่า ถูกต้อง ตรงกัน
2.3 ผู้มีอำนาจได้ลงนามอนุมัตินำส่งในรายงานการรับรายได้และนำส่งเงินคงคลัง (ZINF_R09 ประเภทเอกสาร R1, R2…) ก่อนทำการอนุมัตินำเงินส่งคลังในระบบ GFMIS (ปลดบล็อก P3)
2.4 การอนุมัตินำเงินส่งคลังในระบบ GFMIS (ปลดบล็อก P3)กระทำโดยผู้มีอำนาจหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเท่านั้น
2.5 สอบทานว่ามีการบันทึกรายการนำส่งในทะเบียนคุมการรับและนำส่งเงิน ถูกต้อง ครบถ้วนตรงตามหลักฐานและเป็นปัจจุบัน
2.6 การนำส่ง/นำฝากเงินแต่ละประเภท เป็นไปตามระยะเวลาที่ระเบียบกำหนด
2.7 สอบทานว่ามีการตรวจสอบสถานะการนำส่งเงินจากรายงานแสดงสถานะเอกสารการนำส่งเงินของส่วนราชการ (ZRP_STATUS) หลังการนำส่งเงินเพื่อตรวจสอบความคืบหน้าของข้อมูลการนำส่งเงิน
2.8 สอบทานว่าทุกสิ้นเดือนมีการพิมพ์รายงานแสดงเงินรายได้แผ่นดินที่จัดเก็บและนำส่งคลัง(ZRP_RPT001) ส่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายในระยะเวลาที่กำหนด
ระบบบัญชี
การตรวจสอบระบบบัญชีแบ่งเป็น 2 ส่วน คือการตรวจสอบบัญชีตามระบบ Manualซึ่งใช้ควบคุมเงินที่ส่วนราชการรับมาเพื่อจ่ายให้เจ้าหนี้หรือผู้มีสิทธิ และการตรวจสอบบัญชีตามระบบ GFMIS
1. การตรวจสอบบัญชีระบบ Manual
เพื่อสอบทานว่า หน่วยรับตรวจมีการจัดทำบัญชีถูกต้อง ครบถ้วน เป็นปัจจุบันตามระบบบัญชีเกณฑ์คงค้าง และข้อมูลรายงานการเงิน ถูกต้องเชื่อถือได้
แนวการตรวจสอบ
ตรวจสอบว่า หน่วยรับตรวจมีการปฏิบัติ ดังนี้
1. การบันทึกรายการบัญชี ครบถ้วน ถูกต้องตรงตามหลักฐาน และเป็นปัจจุบัน
2. ทุกสิ้นเดือนมีการจัดทำรายงานการเงิน ถูกต้อง ครบถ้วน เป็นปัจจุบันและมีรายละเอียดประกอบรายงาน รวมทั้งมีการวิเคราะห์รายงานการเงินเสนอผู้บริหาร เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการพิจารณาสัง่การ ในประเด็นดังนี้
เงินงบประมาณค้างจ่ายเป็นเวลานาน
เงินนอกงบประมาณที่ค้างในบัญชีเป็นเวลานาน โดยที่ยังไม่ได้ดำเนินการใดๆ เช่น เงินโครงการต่างๆ
ลูกหนี้เงินยืมค้างเกินกำหนด
เก็บรักษาเงินสด/เงินฝากธนาคาร เกินวงเงินและอำนาจการเก็บรักษาตามระเบียบ
กรณีมีเงินขาด/เกินบัญชี
2. การตรวจสอบบัญชีระบบ GFMIS
เพื่อสอบทานว่า หน่วยรับตรวจมีการบันทึกข้อมูลในระบบ GFMIS ครบถ้วนถูกต้อง
แนวการตรวจสอบ
ตรวจสอบว่า หน่วยรับตรวจมีการปฏิบัติ ดังนี้
1. เมื่อจ่ายเงินให้เจ้าหนี้หรือผู้มีสิทธิเรียบร้อยแล้ว มีการบันทึกรายการจ่ายเงินในระบบ GFMIS ครบถ้วน ถูกต้องตรงตามหลักฐาน
2. มีการบันทึกรายการปรับปรุงบัญชีในระบบ GFMIS ในส่วนของรายการปกติที่ต้องทำการปรับบัญชี รายวัน / รายเดือน / สิ้นปี เช่น ปรับ เพมิ่ / ลด ยอดเงินฝากคลัง ปรับรายการเงินเบิกเกินส่งคืน เพื่อลดยอดค่าใช้จ่าย รายการล้างลูกหนี้เงินยืม ประมวลผล ค่าเสื่อมราคา
3. สอบทานว่า การปรับปรุงแก้ไขกรณีพบข้อผิดพลาดจากการบันทึกรายการในระบบ GFMIS ได้มีการเสนอผู้มีอำนาจอนุมัติก่อนดำเนินการปรับปรุง โดยสอบทานจากเอกสารการปรับปรุง
4. ทุกสิ้นเดือน มีการตรวจสอบยอดคงเหลือจากบัญชีแยกประเภททั่วไป ตามระบบ GFMIS เช่น บัญชีเงินสด เงินฝากธนาคาร เงินฝากคลัง เงินรับฝาก ลูกหนี้เงินยืม ฯลฯ กับเอกสารที่เกี่ยวข้อง เพื่อค้นหารายการผิดปกติ
5. มีการตรวจสอบรายงานการเงินจากระบบ GFMIS เปรียบเทียบกับระบบManual เพื่อค้นหารายการผิดปกติ กรณีพบว่าไม่ตรงกัน มีการหาสาเหตุเพื่อทำการแก้ไข หรือไม่
6. สอบทานว่า การปรับปรุงแก้ไขกรณีพบข้อผิดพลาดจากการตรวจสอบบัญชีแยกประเภท และรายงานการเงินตามระบบ GFMIS ได้มีการเสนอผู้มีอำนาจอนุมัติก่อนดำเนินการปรับปรุง โดยสอบทานจากเอกสารการปรับปรุงรายการ
7. มีการเสนอรายงานการเงินตามระบบ GFMIS ให้ผู้มีอำนาจลงนามรับรองในรายงาน และจัดส่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายในระยะเวลาที่กำหนด
ระบบควบคุมเงินสด เงินฝากธนาคาร เงินฝากคลัง การเก็บรักษาเงินและการตรวจสอบรับ - จ่ายประจำวัน
1. การควบคุมเงินสด
เพื่อสอบทานว่าเงินสดคงเหลือในมือและเอกสารแทนตัวเงินมีอยู่จริง ครบถ้วนถูกต้อง และสามารถแยกประเภทของเงินได้
แนวการตรวจสอบ
1. ตรวจนับเงินสดคงเหลือในมือ และเอกสารแทนตัวเงิน เปรียบเทียบกับบัญชีแยกประเภทเงินสด และรายงานเงินคงเหลือประจำวันตามระบบ Manual และมีการแยกรายละเอียดของเงินแต่ละประเภทไว้ในช่อง “หมายเหตุ” ของรายงานเงินคงเหลือประจำวัน
2. สอบทานการจัดทำรายละเอียดเงินสดคงเหลือ ณ วันสิ้นเดือนว่าจำนวนเงินถูกต้อง ตรงกับบัญชีแยกประเภทเงินสดตามระบบ Manual และสามารถแยกประเภทของเงินได้
2. การควบคุมเงินฝากธนาคาร
เพื่อสอบทานว่าเงินฝากธนาคารคงเหลือในบัญชีระบบ Manual มีอยู่จริงครบถ้วน ถูกต้อง และสามารถแยกประเภทของเงินได้
แนวการตรวจสอบ
ตรวจสอบว่า หน่วยรับตรวจมีการปฏิบัติ ดังนี้
1. ทุกสิ้นเดือนมีการจัดทำงบเทียบยอดเงินฝากธนาคารประเภทกระแสรายวันทุกบัญชี
2. มีการเปรียบเทียบยอดคงเหลือบัญชีแยกประเภทเงินฝากธนาคาร ตามระบบ Manual กับสมุดคู่ฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์และประจำว่า จำนวนเงิน ถูกต้องตรงกัน
3. มีการจัดทำรายละเอียดเงินฝากธนาคารคงเหลือ ณ วันสิ้นเดือนว่าประกอบด้วยเงินประเภทใด จำนวนเท่าใด โดยประเภทและจำนวนเงินถูกต้องตรงกับยอดคงเหลือตามบัญชีแยกประเภทเงินฝากธนาคารแต่ละบัญชี
3. การควบคุมเงินฝากคลัง
เพื่อสอบทานว่า เงินที่ได้นำฝากคลัง มีอยู่จริง ครบถ้วน ถูกต้อง ทั้งจำนวนเงินและประเภทของเงินที่นำฝากคลัง
แนวการตรวจสอบ
ตรวจสอบว่า หน่วยรับตรวจมีการปฏิบัติ ดังนี้
1. มีการจัดทำบัญชีย่อยเงินฝากคลัง เพื่อใช้ควบคุมเงินที่นำฝากคลังแต่ละประเภท
2. มีการสอบทานยอดคงเหลือตามบัญชีแยกประเภทเงินฝากคลังในระบบManual กับยอดรวมของบัญชีย่อยเงินฝากคลังทุกประเภท
3. มีการสอบทานยอดคงเหลือบัญชีย่อยเงินฝากคลังแต่ละประเภทในระบบManual เปรียบเทียบกับรายงานการเคลื่อนไหวเงินฝากกระทรวงการคลังตามระบบ GFMIS(ZGL_RPT013)
4. มีการจัดทำรายละเอียดเงินฝากคลังคงเหลือ ณ วันสิ้นเดือน โดยเมื่อรวมเงินฝากคลังทุกประเภทแล้ว จำนวนเงินต้องตรงกับยอดคงเหลือตามบัญชีแยกประเภทเงินฝากคลังตามระบบ Manual
4.การเก็บรักษาเงิน
เพื่อสอบทานการควบคุมการเก็บรักษาเงินว่า มีการเก็บรักษาเงินแต่ละประเภทไม่เกินอำนาจการเก็บรักษา และมีการนำส่งภายในระยะเวลาที่กำหนด
แนวการตรวจสอบ
สอบทานการปฏิบัติงานของหน่วยรับตรวจ โดยพิจารณาว่า1. มีคำสัง่แต่งตัง้คณะกรรมการเก็บรักษาเงินตามระเบียบการเก็บรักษาเงิน พ.ศ. 2551
2. คณะกรรมการเก็บรักษาเงิน ได้ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายเป็นประจำทุกสิ้นวัน
3. วงเงินและระยะเวลาการเก็บรักษาเงินสดและเงินฝากธนาคารแต่ละประเภทเป็นไปตามที่ระเบียบกำหนด
5.การตรวจสอบรับ - จ่ายประจำวัน
เพื่อสอบทานว่า หน่วยรับตรวจจัดให้มีการตรวจสอบรับ-จ่ายประจำวัน เป็นไปตามที่ระเบียบกำหนด
แนวการตรวจสอบ
สอบทานการปฏิบัติงานของหน่วยรับตรวจ โดยพิจารณาว่า1. มีคำสัง่แต่งตั้งผู้ตรวจสอบรับ-จ่ายประจำวัน ทัง้ตามระบบ GFMIS และระบบ Manual ซึ่งอาจเป็นชุดเดียวกันหรือคนละชุดก็ได้
2. ผู้ตรวจสอบรับ-จ่ายประจำวันที่ได้รับแต่งตั้งมีการปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย ดังนี้
2.1 การตรวจสอบตามระบบ GFMIS ทุกสิ้นวันทำการถัดไป มีการตรวจสอบรับ-จ่ายเงินเป็นประจำ
โดยเรียกรายงานจากระบบ GFMIS มาทำการตรวจสอบ ดังนี้
1) รายงานสรุปรายการขอเบิกเงิน (ZAP_RPTW01)ตรวจสอบกับข้อมูลการขอเบิกเงินของส่วนราชการ (ต้นเรื่องหลักฐานขอเบิก)
2) รายงานเงินสดคงเหลือประจำวัน (ZFI_CASHBAL)เปรียบเทียบกับรายงานเงินคงเหลือประจำวันที่จัดทำตามระบบ Manual
*** การตรวจสอบตาม 1) และ 2) ให้พิจารณาว่า ถูกต้องตามข้อเท็จจริงหรือไม่หากพบข้อผิดพลาดคลาดเคลื่อน ให้ทำการพิสูจน์ยอดก่อนพิมพ์รายงานดังกล่าว เพื่อเสนอหัวหน้าส่วนราชการลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้องก่อนเก็บรักษาไว้รอการตรวจสอบ ***
2.2 การตรวจสอบตามระบบ Manualทุกสิ้นวันทำการมีการตรวจสอบ ดังนี้
1) ตรวจสอบรายการรับเงินทุกรายการ ว่าได้นำ มาบันทึกบัญชีเงินสดหรือบัญชีเงินฝากธนาคาร ครบถ้วน ถูกต้อง ตรงตามหลักฐาน
2) ตรวจสอบรายการจ่ายเงินที่บันทึกในบัญชีเงินสดหรือบัญชีเงินฝากธนาคาร ว่ามีหลักฐานการจ่ายครบถ้วน ถูกต้องทุกรายการ
ระบบควบคุมเงินทดรองราชการ
เงินทดรองราชการ เป็นเงินที่กระทรวงการคลังอนุญาตให้ส่วนราชการมีไว้เพื่อทดรองจ่ายในการปฏิบัติราชการได้อย่างรวดเร็ว คล่องตัว หรือกรณีที่มีความจำเป็นต้องใช้เงินแต่ไม่สามารถเบิกเงินงบประมาณได้ทัน ทั้งนี้เพื่อให้การปฏิบัติงานของส่วนราชการมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยให้ทดรองจ่ายตามรายการที่ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการ พ.ศ. 2547 กำหนด และแยกการควบคุมเงินทดรองราชการออกจากเงินของส่วนราชการ
การตรวจสอบเงินทดรองราชการพิจารณาเป็น 2 ส่วน คือ ในส่วนของการควบคุมเงินและประสิทธิภาพในการบริหารเงิน ดังนี้
1.การควบคุมเงินทดรองราชการ
เพื่อให้มัน่ ใจว่าเงินทดรองราชการมีอยู่จริงครบถ้วน ถูกต้อง และการควบคุมเงินได้ปฏิบัติตามระเบียบกำหนด
แนวการตรวจสอบ
1. สอบทานว่าหน่วยรับตรวจมีการปฏิบัติ ดังนี้
1.1 มีการมอบหมายผู้รับผิดชอบควบคุมเงินทดรองราชการโดยเฉพาะ แยกต่างหากจากระบบบัญชีของส่วนราชการ
1.2 มีการตรวจสอบความถูกต้องของหลักฐานการยืมเงินและใบสำคัญรองจ่ายเสนอขออนุมัติจ่ายเงินทดรองราชการจากผู้มีอำนาจ
1.3 มีการบันทึกรายการในทะเบียนคุมเงินทดรองราชการครบถ้วน ถูกต้องและเป็นปัจจุบัน
1.4 มีการแต่งตัง้ผู้ตรวจสอบรายการเคลื่อนไหวเงินทดรองราชการในทะเบียนคุมเงินทดรองราชการกับหลักฐาน
1.5 สอบทานว่าผู้ได้รับแต่งตั้งตรวจสอบรายการเคลื่อนไหวเงินทดรองราชการ ทำหน้าที่ตามที่ได้รับแต่งตัง้เป็นประจำ
1.6 ทุกสิ้นเดือนมีการจัดทำรายงานฐานะเงินทดรองราชการและงบเทียบยอดเงินฝากธนาคาร รวมถึงรายละเอียดลูกหนี้เงินทดรองราชการและรายละเอียดใบสำคัญเงินทดรองราชการ
2. ตรวจนับเงินสดคงเหลือ พิสูจน์ยอดเงินฝากธนาคารคงเหลือ และตรวจสอบหลักฐานลูกหนี้เงินทดรองราชการ ใบสำคัญเงินทดรองราชการ เปรียบเทียบกับยอดเงินคงเหลือแต่ละช่องในทะเบียนคุมเงินทดรองราชการว่าถูกต้อง ตรงกัน
2. การบริหารเงินทดรองราชการ
เพื่อทราบว่าหน่วยรับตรวจมีการบริหารเงินทดรองราชการอย่างมีประสิทธิภาพโดยสามารถนำเงินทดรองราชการหมุนใช้จ่ายในสำนักงานได้รวดเร็วและวงเงินจำนวนสูง
แนวการตรวจสอบ
1.สอบทานว่าหน่วยรับตรวจมีการปฏิบัติ ดังนี้
1.1 มีการกำหนดมาตรการเกี่ยวกับการส่งใช้เงินยืม และแจ้งให้เจ้าหน้าที่ในสำนักงานรับทราบ
1.2 มีการติดตามเร่งรัดลูกหนี้ ให้ส่งใช้เงินยืมภายในระยะเวลาตามระเบียบและมาตรการที่กำหนด
1.3 มีการกำหนดและควบคุมให้ผู้รับผิดชอบรวบรวมหลักฐานใบสำคัญเงินทดรองราชการเสนอขออนุมัติจากผู้มีอำนาจเบิกเงินงบประมาณชดใช้เงินทดรองราชการโดยเร็ว
2. สุ่มตรวจสอบหลักฐานเพื่อพิสูจน์ระยะเวลาที่ใช้ในการเบิกเงินงบประมาณว่าเร็วหรือช้า และเป็นไปตามเวลาที่กำหนดหรือไม่
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
-
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการได้จัดทำตราสัญลักษณ์(ภาพเครื่องหมายราชการ)ขึ้นใหม่ และได้แจ้งให้สำนักเลขาธิการคณะร...
-
1. เงินค่าเช่าบ้านข้าราชการ จัดอยู่ในงบประมาณหมวดใด ก. งบบุคลากร ข. งบดำเนินการ ค. งบเงินอุดหนุน ง. งบอื่นๆ 2. ค่าตอบแทน หมายถึง ก. เงินที่จ...
-
1. ข้าราชการครูซึ่งปฏิบัติราชการที่สถานศึกษา ไม่มีสิทธิลาประเภทใด ก. ลากิจส่วนตัวเพื่อเลี้ยงดูบุตร ข. ลาพักผ่อน ค. ลาอุปสมบท ง. ลาเข้ารับการ...
1 ความคิดเห็น:
ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆครับ
แสดงความคิดเห็น